เป็นของตัวเอง ประโยชน์ของการมีบล็อกเป็นของตัวเองนั้นก้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ที่สร้างบล็อก เช่น ใช้ในการทำงาน ในการนำเสนอผลงาน การขายสินค้า ใช้ในการเรียนการสอน หรือ ใช้ในการเขียนชีวประวัติส่วนตัวแล้วเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลแบบออนไลน์ก็ยังได้ค่ะ อย่างเช่นบล็อกนี้เป็นบล็อกส่วนตัวที่อยากใส่อะไรก็ใส่ สบายๆ เหมือนนิสัยเจ้า ของบล็อก555+ ส่วนปัญหาที่บางคนไม่รู้จัก code ของภาษาต่างๆ เช่น HTML หรือ Java script ฯ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ เพราะตัวเจ้าของบล็อกนี้เองก็ไม่เป็นเหมือนกันแต่ก็ค่อยๆ เรียนรู้กันไป เพียงแค่ไม่กี่วันเพื่อนก็จะมีบล็อกสวยๆ และนำไปใช้ประโยชน์ได้แน่นอนค่ะ
งั้นจะพูดพล่ามทำเพลงอะไรกันอยู่ล่ะค่ะ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
วิธีสร้างบล็อกกับ Blogger
ขั้นที่ 1 การสมัครใช้งาน Blogger สามารถใช้ email ของระบบใดก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วการเชื่อมโยงกับบริการหลายๆอย่างของ google ควรจะใช้ email ของ Gmail ดีที่สุดค่ะ
ดัง นั้นในขั้นแรกนี้ให้เพื่อนเข้าไปที่ www.gmial.com เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้กับ google
ขั้นที่ 2 หลังจากได้บัญชีผู้ใช้แล้ว ให้ไปที่ www.blogger.com เพื่อสร้างบล็อกกันเลยคะ
โดยในการสร้างบล็อกนั้น ก็ให้ใช้ บัญชีผู้ใช้ (user name + password) ที่ได้สร้างไว้ในขั้นที่ 1
ขั้นที่ 3 ในขั้นต่อมาให้กรอก emailที่ได้จากขั้นที่ 1 ชื่อผู้เขียนบล็อก วันเกิด และยอมรับข้อตกลง
แล้ว Click ที่ปุ่มดำเนินการต่อ
ขั้น ที่ 4 การตั้งชื่อเว็บบล็อกสามารถใช้ชื่อที่ชอบได้ตามใจ แต่การกำหนด URL จะต้องไม่ให้ซ้ำกับคนอื่น ๆ ถ้าซ้ำก็ใช้วิธีเปลี่ยนเป็นคำหรือวลีที่ใกล้เคียงไปเรื่อย ๆ
(การตั้งชื่อและ URL ของบล็อกควรมี keyword ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเขียนด้วย)
ขั้นที่ 5 ในขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเลือกแม่แบบของบล็อก ให้เลือกแม่แบบใดก็ได้ค่ะ
เพราะเราจะมาทำการปรับแต่งแม่แบบได้ในภายหลัง ซึ่งเราได้เขียนบทความการเปลี่ยนแม่แบบเอาไว้รอเพื่อนแล้ว
เมื่อจบ 5 ขั้นตอนข้างต้นถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้วค่ะ (ง่ายดายใช่ไหมคะ)
ขั้นที่ 6 ในขั้นตอนนี้เป็นการเลือกจัดการกับบล็อกที่สร้างขึ้น
คุณสามารถเข้าไปจัดการส่วนต่าง ๆ ของบล็อกได้จาก www.blogger.com หรือ draft.blogger.com
6.1 ถ้าเพื่อนๆจะเริ่มเขียนบล็อกเลย ให้อ่านข้อแนะนำการเขียนบล็อกจากจากหัวข้อ บทความวิธีเขียนและจัดการ
6.2 แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแม่แบบก่อนให้อ่านจากหัวข้อ วิธี เปลี่ยน Templates ของ Blogger หรืออ่านวิธีออกแบบแม่แบบด้วยตัวเองจากจากหัวข้อเครื่อง มือสำหรับออกแบบแม่แบบด้วยตนเอง
วิธีเขียนและจัดการบทความในบล็อก(แบบพื้นฐาน)
1. การเข้าไปเขียนบทความ
การเข้าไปเขียนบทความบน Blogger โดยตรงสามารถเข้าไปได้ 3 ช่องทางด้วยกันคือ
1.1 ถ้าเพื่อนๆใช้แม่แบบที่ไม่ได้ซ่อนแถบนำทางสามารถเข้าไปเขียนบทความได้โดยคลิกที่เมนู บทความใหม่
1.2 เข้าไปเขียนบทความผ่าน www.blogger.com
1.3 เข้าไปเขียนบทความผ่าน draft.blogger.com
โปรดสังเกตว่าเครื่องมือในการเขียนบทความของ Draft.blogger จะมีมากกว่าเครื่องมือของ blogger ปกติ ดังนั้นโดยส่วนตัวแนะนำให้เขียนบทความผ่าน draft.blogger.com เพราะมีเครื่องมือมากกว่า 2 วิธีแรก และควรตั้งค่าให้ draft.bloggerเป็นเครื่องมือเริ่มต้น
2. องค์ประกอบของเครื่องมือเขียนบทความ
ก่อนอื่นขอแนะนำให้รู้จักเครื่องมือที่จำเป็นในการเขียนบทความดังนี้
ส่วนที่ 1 คือส่วนตั้งชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ
ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกรณีที่เราต้องการวางข้อความที่คัดลอกมาจาก Ms word หรือโค้ดวีดีโอจาก Youtube หรือโค้ด HTML/จาวาสคริปต์ที่ต้องการให้ปรากฎและแสดงผลในบทความ
ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกรณีที่เราต้องการวางข้อความที่คัดลอกมาจาก Ms word หรือโค้ดวีดีโอจาก Youtube หรือโค้ด HTML/จาวาสคริปต์ที่ต้องการให้ปรากฎและแสดงผลในบทความ
ส่วนที่ 3 เป็นแถบที่เลือกเมื่อต้องการเขียนข้อความปกติซึ่งจะมีเครื่องมือในการเขียนบทความตามที่เห็นในภาพข้างบน
ส่วนที่ 4 สำหรับจัดรูปแบบอักษร
ส่วนที่ 5 เป็นเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้ข้อความ แทรกภาพลงในบทความ และแทรกวีดีโอลงในบทความตามลำดับ
ส่วนที่ 6 รูปกระดาษขาดที่เห็นนั้นใช้ในกรณีที่คุณต้องการแสดงบทความให้ผู้อ่านเห็นในหน้าหลักเพียงบางส่วนเท่านั้น และถ้าใช้เครื่องมือนี้ผู้อ่านจะต้องคลิกอ่านเพิ่มเติมจึงจะเห็นข้อความแบบเต็ม เครื่องมือนี้มีข้อดีคือทำให้บทความที่มีความยาวมาก ๆ สั้นลงได้ และทำให้เปิดหน้าแรกได้เร็วขึ้นด้วย
ส่วนที่ 6 รูปกระดาษขาดที่เห็นนั้นใช้ในกรณีที่คุณต้องการแสดงบทความให้ผู้อ่านเห็นในหน้าหลักเพียงบางส่วนเท่านั้น และถ้าใช้เครื่องมือนี้ผู้อ่านจะต้องคลิกอ่านเพิ่มเติมจึงจะเห็นข้อความแบบเต็ม เครื่องมือนี้มีข้อดีคือทำให้บทความที่มีความยาวมาก ๆ สั้นลงได้ และทำให้เปิดหน้าแรกได้เร็วขึ้นด้วย
ส่วนที่ 7 เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเรียงข้อความ และจัดแนวรูปภาพได้ด้วย เช่น จัดชิดซ้าย ชิดขวา กึ่งกลาง เป็นต้น
ส่วนที่ 8 ได้แก่การใส่ การเน้นข้อความ การลบรูปแบบ การตรวจสอบการสะกดคำ และการแปลภาษา
ส่วนที่ 9 เป็นส่วนที่ใช้ในการวางกำหนดเวลาล่างหน้าว่าจะให้บทความที่เขียนเผยแพร่ในวันใด
ส่วนที่ 10 เป็นการใส่ป้ายกำกับ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ระบุว่าบทความที่เขียนนี้อยู่ในหมวดหมู่ใด ซึ่งสามารถใส่ได้มากกว่า 1 ป้ายกำกับโดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค และสามารถเลือกป้ายกำกับที่คุณเคยใส่ให้บทความอื่นไปแล้วมาใส่อีกได้ เพื่อทำให้บทความนั้น ๆ อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน
ส่วนที่ 11 เป็นการเลือกว่าจะบันทึกไว้ก่อน หรือจะเผยแพร่ มีประโยชน์ในกรณีที่บทความที่เขียนใช้เวลาเขียนนานมากก็อาจจะบันทึกเอาไว้ก่อนแล้วมาเขียนต่อในภายหลังได้
3. เทคนิคการเขียนบทความที่ควรรู้
ในกรณีที่เรามีไฟล์เอกสารจาก MS word แล้วคัดลอกมาวางเพื่อทำให้เขียนบทความได้เร็วขึ้น บางครั้งพบปัญหาข้อผิดพลาดของฟอร์ม
(ฟอร์มใน MS word ไม่สามารถแปลงเป็น HTML Code ได้)
ปัญหานี้แก้ได้โดยก่อนวางข้อความให้คลิกที่แถบ แก้ไข HTML แล้วจึงวางข้อความที่คัดลอกมาจากนั้นจึงคลิกที่แถบเขียน เพื่อจัดรูปแบบของบทความต่อไป
เทคนิคนี้ยังสามารถใช้กับการวางโค้ดวีดีโอ หรือข้อความที่คัดลอกมาจากเว็บไซต์ได้ด้วยค่ะ
วิธีเปลี่ยน Templates ของ Blogger
ต่อไปเราจะมาดูวิธีการเลือก และการเปลี่ยน blogger Template กันนะคะ
ขั้นที่ 1 ให้เพื่อนไปเลือก blogger templates ได้ที่
http://btemplates.com
http://www.premiumbloggertemplates.com/
http://www.bloggertemplates4you.com/
http://www.deluxetemplates.net
http://simplexdesign.blogspot.com/
http://www.besttheme.net/
http://www.zoomtemplate.com/
http://www.allblogtools.com/
http://premiumbloggerthemes.com/
http://www.bloggertemplateplace.com
http://themecraft.net
http://bloggets.blogspot.com/
http://www.bietemplates.com/
http://www.bloggerthemes.net
http://www.bloggerstyles.com
http://www.anshuldudeja.com
http://www.bloggertemplatesfree.com
http://www.bloggertemplatesblog.com
http://www.templatesblock.com
http://blogtemplate4u.com/
http://www.mybloggerthemes.com/
http://www.dantearaujo.net/search/label/Free%20Template
http://www.chethstudios.net/search/label/blogger%20templates
http://blogger-templates.blogspot.com
http://freetemplates.blogspot.com
http://www.webtemplatesblog.com
http://www.ezwpthemes.com
http://www.freebloggertemplate.info
http://www.blogcrowds.com/resources/blogger-templates
http://www.zoomtemplate.com
http://www.templates-blogger.com
http://www.bloggerblogtemplates.com
http://bloggertemplateplace.com
http://www.templatesblogger.net
http://www.bietemplates.com
http://magazine-theme-collection.blogspot.com/
หรือจะใช้คำค้น “Template+blog” ใน google ก็ได้
เชื่อว่าขั้นตอนนี้เพื่อนๆคงจะใช้เวลานานพอสมควรเลยล่ะครับ (เราเองก็ใช้เวลาเป็นวันๆ ในการเลือก templates ทีเดียวค่ะ )
ขั้นที่ 2 เมื่อเพื่อนๆได้ Template ที่ต้องการแล้ว ให้เริ่มเปลี่ยนดังนี้
2.1 ให้แตกไฟล์ ที่มีนามสกุล .xml ไว้ที่ๆ สะดวกเรียกใช้ได้ง่าย เช่น ในที่นี้ผมเลือกแม่แบบที่ต้องการแล้ว แตกไฟล์ awes-template.xml ไว้ที่ desktop
2.2 Log in ที่ blogger ไปที่แผงควบคุม >> รูปแบบ >> แก้ไข HTML >> คลิกปุ่ม เรียกดู เพื่อที่จะอัปโหลดแม่แบบขึ้นมา
2.3 เรียกไฟล์ .XML ที่เตรียมไว้ตามขั้นตอนในรูปครับ
2.4 อัปโหลดแม่แบบขึ้นไปแทนที่แม่แบบเดิม โดยระหว่างการแทนที่ อาจมีการถามถึงการลบ/เก็บ Widget ของแม่แบบเดิม ซึ่งถ้าต้องการเก็บของเก่าเอาไว้ก็เลือก เก็บ Widget ก็จะทำให้ Widget ของแม่แบบเดิม ไม่ถูกลบขณะเปลี่ยน Templates
2.5 จากนั้นลองแสดงตัวอย่างดู ซึ่งถ้าพอใจกับแม่แบบแล้วก็ให้ทำการบันทึก ก็จบขั้นตอนการเปลี่ยนแม่แบบแล้วครับ และถ้าหากคุณต้องการเปลี่ยนแม่แบบอีกก็สามารถเปลี่ยนได้แบบไม่จำกัดครั้ง
นี่คือผลงาน หลังจากเปลี่ยนแม่แบบครับในบทความนี้ครับ
ก่อนเปลี่ยน Template
หลังเปลี่ยน Template
เครื่องมือสำหรับ “ออกแบบแม่แบบ” ด้วยตนเอง ใหม่! จาก blogger
หลังจากทีมงาน blogger ได้สร้างGadget หน้าเว็บ ออกมาได้ไม่นาน ตอนนี้ก็ได้พัฒนาการเครื่องมือสำหรับการออกแบบแม่แบบของ blogger ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งแม่แบบได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือก Theme การออกแบบโครงร่างของหน้าว่าจะมี 2 หรือ 3 คอลัมน์ หรือหลายคอลัมน์ ซึ่งทำได้โดยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง การปรับความกว้างของ Template และ sidebar เพียงแค่คลิกเดียวเป็นต้น ความสามารถทั้งหลายนี้ผู้ใช้สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีความรู้เรื่อง HTML และ CSS เลย
วีดีโอแนะนำเครื่องมือ "ออกแบบแม่แบบ"
สำหรับการใช้งานเครื่องมือนี้ก็คล้ายคลึงกับการใช้งานเครื่องมือเดิม ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งผมจะอธิบายทีละส่วนดังนี้
การใช้ เครื่องมือออกแบบแม่แบบ ทำได้โดย Log in เข้าไปที่ draft.blogger และไปที่ แผงควบคุม >>รูปแบบ >> องค์ประกอบของหน้า >> คลิกที่ “เครื่องมือออกแบบแม่แบบ”
เมื่อคลิกที่ “เครื่องมือออกแบบแม่แบบ” แล้วเราจะพบเครื่องมือสำหรับออกแบบแม่แบบอยู่ 4 อย่างด้วยกัน ได้แก่ 1. แม่แบบ 2. พื้นหลัง 3. รูปแบบ และ 4. ขั้นสูง
1. การใช้งานเครื่องมือแม่แบบ
การใช้เครื่องมือแม่แบบทำได้โดย คลิกที่ข้อความ แม่แบบ >> จากนั้นเลือกรูปแบบที่ต้องการ >> และเลือก theme ที่ต้องการ เมื่อแสดงตัวอย่างเป็นที่น่าพอใจแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม “ใช้กับบล็อก” เพื่อยืนยัน
2. การใช้งานเมนูพื้นหลัง การใช้งานเครื่องมือ “พื้นหลัง” สามารถใช้เพื่อเปลี่ยนภาพพื้นหลังของบล็อก และเลือกสี Theme ของบล็อกได้ตามความต้องการได้ด้วย
2.1 วิธีเปลี่ยนภาพพื้นหลังทำได้โดย คลิกที่ “ภาพพื้นหลัง” และเลือกถาพตามต้องการ และกดปุ่ม “ใช้กับบล็อก” เพื่อยืนยัน
2.2 การเลือกสี Theme ของบล็อก คลิกที่สี Theme ที่ต้องการโดย อาจจะคลิกเลือกจาก Theme สำเร็จรูปหรือเลือกจาก Theme ที่แนะนำ
3. การใช้งานเครื่องมือ “รูปแบบ” : เพื่อนๆสามารถใช้เครื่องมือนี้เพื่อกำหนดจำนวน คอลัมน์ รูปแบบคอลัมน์ ความกว้างของคอลัมน์ รวมถึงการกำหนดคอลัมน์ให้กับส่วนท้ายของหน้าได้ด้วย
3.1 การใช้งานเครื่องมือ “การออกแบบเนื้อความ” : เครื่องมือนี้ใช้กำหนดรูปแบบคอลัมน์ของ template ของคุณ ซึ่งทำได้ง่ายดายโดยการคลิกเลือกรูปแบบที่ต้องการ ดูตัวอย่าง เมื่อเป็นที่พอใจแล้วก็กดปุ่ม “ใช้กับบล็อก” เพื่อยืนยัน
3.2 การใช้งานเครื่องมือ “การออกแบบส่วนท้าย” : เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือสำหรับการกำหนดคอลัมน์ให้กับส่วนท้ายของหน้าบล็อก ซึ่งทำได้เช่นเดียวกับ 3.1
3.3 การใช้งานเครื่องมือ “การปรับความกว้าง” : คุณสามารถปรับความกว้างของแม่แบบ และ sidebar จากเครื่องมือนี้เพียงแค่เลื่อน slider ให้ตรงกับค่าตัวเลขที่ต้องการเท่านั้น
4. สำหรับเมนูขั้นสูงเป็นการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับบล็อก เช่น รูปแบบของลิงค์ gadget ต่าง ๆ หัวเรื่อง ชื่อของบล็อก เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถปรับแต่งตามความต้องการแล้ว แสดงตัวอย่าง หากเป็นที่พอใจก็บันทึกเช่นเดียวกับ ข้อ 1-3 ที่ได้กล่าวมาแล้ว
หวังว่าเครื่องมือนี้น่าจะเป็นที่ชื่นชอบของหลาย ๆ คนที่ต้องการปรับแต่ง Template ให้ถูกใจตามสไตล์ของเพื่อนๆเองมากขึ้นนะค่ะ ขอจบบทความอีกหนึ่งเทคนิควิธีในการปรับแต่งและใช้งาน blogger อีก 1 บทความเพียงเท่านี้คะ หากมีเรื่องดี ๆ ก็จะเอามาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งคะ และอย่าลืมแวะมาทักทายกันบ้างนะค่ะ มีข้อสงสัยอะไรก็ถามได้คะ เอ๊าะ! แล้วยังมีบทความอีกหลายบทความเข้าไปอ่านได้นะค่ะ